วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

มาสักที DoubleTake แอปฟรีทำ iPhone ถ่ายวิดีโอจากกล้องหน้า-หลังได้พร้อมกัน!


สำหรับใครที่ซื้อ iPhone 11 Pro Max มาเพื่อรอแอปถ่ายคลิป 2 กล้องพร้อมกันที่ได้ถูกโชว์ความสามารถในงาน Apple Event เมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา ในที่สุด FiLMiC ก็ได้เปิดตัวแอป DoubleTake ออกมาอย่างเป็นทางการแล้ววันนี้ในช่องทาง AppStore มาดูกันว่าแอปนี้มีความสามารถอะไรที่น่าสนใจบ้าง

DoubleTake by FiLMic Pro


แอป DoubleTake by FiLMic Pro ตัวนี้เป็นแอปที่จะทำให้คุณสามารถถ่ายวิดีโอ 2 กล้องพร้อมกัน โดยสามารถเลือกได้ว่าจะเอากล้องเลนส์ปกติ เลนส์มุมกว้าง เลนส์เทเล หรือกล้องหน้า เพื่อถ่ายทำออกมาแบบพร้อมกัน และหลังจากเลือกกล้องแล้ว แอปก็ยังสามารถเลือกได้อีกว่าจะถ่ายในรูปแบบไหนเช่น ถ่ายแบบเก็บภาพเต็มทั้ง 2 กล้องเอาไว้สำหรับตัดต่อทำ Post Production ได้ง่ายหรือจะถ่ายแบบแบ่งมุมมองจอใหญ่, จอเล็ก (PiP) หรือแบ่งแบบ Split เพื่อลดขั้นตอนการตัดต่อก็ทำได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังมีโหมดให้เลือกอีกว่าเฟรมเรตเท่าไหร่ตั้งแต่ 24 FPS 25 FPS ไปจนถึง 30 FPS บนความละเอียด 1080p (ปัจจุบันยังไม่สามารถปรับความละเอียดได้)

และแน่นอนว่าแอปนี้ ฟรี!! สำหรับใครที่ใช้ iPhone XR/XS/XS Max หรือ iPhone 11/11 Pro/11 Pro Max ที่ใช้ระบบปฎิบัติการ iOS 13 ก็โหลดได้ง่ายๆ ผ่าน AppStore หรือจิ้มที่ด้านล่างนี้ได้เลย

ที่มา: Beartai

ยังมกราอยู่เลย กูเกิลเสนอ Meena ปัญญาประดิษฐ์คุยเหมือนคน เล่นมุกแป้กได้ด้วย

กูเกิลเผยแพร่รายงานวิจัยการพัฒนาแชตบอทที่เหมือนมนุษย์โดยไม่ระบุหัวข้อ (Towards a Human-like Open-Domain Chatbot) ที่นำเสนอปัญญาประดิษฐ์ที่ชื่อว่า Meena เป็นโมเดลปัญญาประดิษฐ์ขนาดใหญ่ 2.6 พันล้านพารามิเตอร์ ฝึกด้วยชุดข้อมูลขนาด 341 กิกะไบต์ เพื่อให้ได้แชตบอตที่คุยเรื่องอะไรก็ได้ (open domain)

Meena คือปัญญาประดิษฐ์ที่อ่านข้อความก่อนหน้า แล้วพยายามคาดเดาประโยคที่ควรตอบกลับถัดไป ภายในของ Meena เป็นบล็อคปัญญาประดิษฐ์สถาปัตยกรรม Evolved Transformer ที่กูเกิลเสนอไว้เมื่อปีที่แล้ว แบ่งเป็นบล็อค encoder หนึ่งบล็อค และบล็อค decoder อีก 13 ชั้น ด้วยความที่พารามิเตอร์มีจำนวนมากทำให้ Meena มีความสามารถสูง

บทสนทนาระหว่าง Meena และมนุษย์ที่ Meena เล่นมุกตลก

ข้อมูลที่ใช้ฝึก Meena เป็นข้อมูลที่กวาดมาจากเว็บสังคมออนไลน์ทั้งหลายที่มีการโต้ตอบกันในโพสสาธารณะ ปริมาณ 341 กิกะไบต์ หากเทียบกับ GPT-2 ของ OpenAI นั้นมีขนาด 1.5 พันล้านพารามิเตอร์ และฝึกด้วยข้อมูลขนาด 40 กิกะไบต์ก็นับว่า Meena ใหญ่กว่ามาก ทีมงานกูเกิลไม่ได้เ้ทียบกับ GPT-2 ตรงๆ แต่ไปเทียบกับ DialoGPT ที่ไมโครซอฟท์นำ GPT-2 มาพัฒนาต่อเป็นแชตบอต


เกณฑ์การเปรียบเทียบปัญญาประดิษฐ์ที่คุยเรื่องอะไรก็ได้เช่นนี้ยังไม่มีมาตรฐานกลางนัก กูเกิลนำเสนอมาตรวัดใหม่ที่ชื่อว่า Sensibleness and Specificity Average (SSA) วัดความสมเหตุสมผล (sensible) โดยใช้คนจำนวนมากนับพันคนมามองแชตโต้ตอบระหว่างคนและแชตบอตจำนวน 100 บทสนทนา และเลือกว่าบทสนทนานี้สมเหตุสมผลหรือไม่ ผลที่ได้คือ Meena นั้นมีบทสนทนาที่สมเหตุสมผลถึง 79% เริ่มใกล้เคียงกับคนที่แชตกันจริงๆ ที่ได้คะแนน 86% ส่วนแชตบอตอื่นๆ นั้นได้คะแนนสูงสุด 56% เท่านั้น

การใช้ SSA มีปัญหาคือไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์มาวัดโดยอัตโนมัติได้ แต่กูเกิลพบว่าการวัด perplexity (ความงุนงง) ที่วัดความไม่แน่นอนของโมเดลภาษามีค่าสัมพันธ์กับค่า SSA อย่างมาก (R2=0.93) โดยทีมงานวัดค่า SSA ของโมเดล Meena จำนวน 8 รุ่นระหว่างการพัฒนา มาเทียบกับค่า perplexity จึงเห็นความสัมพันธ์นี้ ทำให้เป็นไปได้ว่าเราสามารถตั้งเป้าหมายลด perplexity ของโมเดลปัญญาประดิษฐ์โดยอัตโนมัติ ก่อนจะใช้วัด SSA ซึ่งต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากและมีค่าใช้จ่ายสูงในภายหลัง

กูเกิลไม่เปิดเผยโมเดลของ Meena ออกสู่สาธารณะเนื่องจากกังวลว่าอาจจะมีความเสี่ยง แต่กำลังพิจารณาว่าจะเปิดเผยออกมาหรือไม่ในอนาคต

ที่มา: Blognone

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563

Nutanix เผยผลสำรวจองค์กรกว่า 73% ย้ายแอปจากพับลิกคลาวด์กลับ on-premise

Nutanix เปิดเผยผลสำรวจดัชนีการใช้งานคลาวด์องค์กร (Enterprise Cloud Index) โดยสำรวจผู้มีอำนาจด้านไอที 2,650 รายทั่วโลก ในประเด็นการใช้งานแอปทางธุรกิจบนระบบใดในปัจจุบัน, แผนในอนาคตและลำดับความสำคัญไปจนถึงความท้าทายในการใช้งานคลาวด์ ซึ่งมีทั้งรายงานทั่วโลกและเฉพาะของประเทศไทย

ส่วนข้อมูลทั่วโลกที่น่าสนใจคือ ผู้ตอบสำรวจกว่า 73% ระบุว่าได้ย้ายแอปพลิเคชันของตัวเองกลับจากพับลิกคลาวด์มายัง on-premise สาเหตุสำคัญคือเรื่องของค่าใช้จ่าย ที่ควบคุมไม่ได้และ/หรือมากเกินกว่าที่ประเมินไว้ ขณะที่ 85% ของผู้ตอบระบุว่าไฮบริดคลาวด์คือสถาปัตยกรรมที่ดีที่สุด (ideal) และ 60% ระบุว่าความปลอดภัยคือปัจจัยสำคัญในการพิจารณาการใช้งานคลาวด์


ขณะที่ผลสำรวจของประเทศไทยก็เห็นแนวโน้มแบบเดียวกัน ที่ผู้ตอบกว่า 52% ระบุว่าจะเปลี่ยนไปใช้งานไฮบริดคลาวด์ภายใน 3-5 ปี แม้ตอนนี้จะมีเพียง 15% ของผู้ตอบแบบสำรวจเท่านั้นที่ใช้ไฮบริด โดยดาต้าเซ็นเตอร์ยังมีสัดส่วนการใช้งานเยอะที่สุดที่ 59% ของผู้ตอบแบบสำรวจ

ที่น่าสนใจคือ คุณสมบัติของคลาวด์ที่บ้านเราให้ความสำคัญสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกและเอเชียแปซิฟิกคือเรื่อง ความสามารถในการสเกลเพื่อรองรับทราฟฟิคที่สูงในบางช่วงเวลา อย่างไรก็ตามประเด็นที่บ้านเราไม่ให้ความสำคัญคือเรื่อง vendor lock-in ขณะที่ระบบความปลอดภัย การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะด้านไอที และเรื่องกฎระเบียบเป็นความกังวลระดับต้นๆ ของบริษัทในไทย ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับแนวโน้มทั่วโลก

หากสนใจสามารถดู Enterprise Cloud Index


ที่มา: Blognone

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563

เผยกลเม็ด Phishing ใหม่ของคนร้ายกับบริการ Citibank

MalwareHunter ได้เปิดเผยมุขใหม่ของคนร้ายที่ทำ Phishing หวังเล่นงานเหยื่อที่ใช้บริการของ Citibank ดังนั้นเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องติดตามพฤติกรรมเช่นนี้ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อครับ

credit : BleepingComputer

แม้ว่าจะไม่ทราบวิธีการนำเสนอหน้า Phishing สู่เหยื่อว่าอาจเป็นทางอีเมล, SMS หรือช่องทางอื่นๆ แต่จากการวิเคราะห์หน้าเพจ Phishing ที่ชื่อ update-citi.com (รูปประกอบด้านบน) พบขั้นตอนดังนี้
  • คนร้ายได้ใช้ TLS Certificate ทำให้ขึ้นรูปกูญแจเสมือนว่าเป็นเว็บจริง ซึ่งอันที่จริงแล้วมีค่าแค่ว่าเว็บนี้เข้ารหัสเท่านั้น แต่ถ้าผู้ใช้งานสังเกตก็สามารถกดเข้าไปดูรายละเอียดของ Certificate ได้
  • คนร้ายมีหน้าร้องขอข้อมูลหลายแบบโดยขอข้อมูล เช่น ชื่อ-นามสกุล วันเกิด ที่อยู่ เลข 4 หลักของเลขประกันสังคม และข้อมูลบัตรทางการเงิน
  • ข้อมูลที่ได้มาจะถูกส่งไปหาเซิร์ฟเวอร์ของคนร้ายและทำทีเหมือนกำลัง Submit
  • คนร้ายใช้ข้อมูลจริงที่ได้ไปล็อกอินเว็บจริงของธนาคาร ซึ่งหากมีการป้องกันแบบ 2-factors ผู้ใช้งานจะได้รับ OTP จริงจากธนาคาร
  • เพจปลอมร้องขอ OTP เพื่อไปใช้เข้ายึดบัญชีหรือทำกิจกรรมอันตรายได้อย่างสมบูรณ์
  • Redirect เหยื่อไปยังหน้าจริงของธนาคารและทิ้งไว้กลางทางอย่างงงๆ
credit : BleepingComputer

จะเห็นได้ว่าคนร้ายได้ใช้ทั้ง Certificate และร้องขอ OTP จากเซิร์ฟเวอร์จริงด้วยซ้ำ หากใครไม่ระวังก็จะถูกแฮ็กบัญชีได้ อย่างไรก็ตามผู้ใช้งานยังสามารถป้องกันตัวเองได้จากการเข้าลิงก์ที่มาจากธนาคารโดยตรงครับ

ที่มา: TechTalk