วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

นวัตกรรมเพื่อคนกินเค็ม 'ช้อนลดโซเดียม' เพิ่มรสเค็ม และอูมามิในอาหาร วางขายแล้ว!

คิริน โฮลดิงส์ คอมปานี ลิมิเต็ด (Kirin Holdings Company, Limited) จากประเทศญี่ปุ่นได้เปิดขายช้อนไฟฟ้าเพิ่มความเค็ม หรือ Electric Salt Spoon โดยช้อนนี้ถูกออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์ในการลดโซเดียมจากเครื่องปรุง ไม่ว่าจะเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว และผงชูรส ด้วยการเพิ่มรสเค็ม และรสอูมามิที่เราเรียกว่ารสอร่อยกลมกล่อมเข้าไปในอาหาร เพียงแค่คุณใช้ช้อนสุดพิเศษคันนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการเปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2023 มาแล้ว

โซเดียมเป็นสารอาหารที่คนส่วนใหญ่ได้รับเกินพอดีอยู่แทบทุกวัน โดยคนไทยบริโภคโซเดียมเฉลี่ย 3,600 มิลลิกรัม/วัน แต่แพทย์แนะนำว่าไม่ควรได้รับเกิน 2,000 มิลลิกรัม/วันเท่านั้น ซึ่งการได้รับโซเดียมมากเกินไปสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังอย่างโรคไต ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ

หากใครเคยลิ้มลองอาหารญี่ปุ่น ไม่ว่าจะซูชิ ราเม็น ซุปมิโซะ จะรู้ได้เลยว่าคนญี่ปุ่นน่าจะบริโภคโซเดียมมากพอตัว และจากสถิติคนญี่ปุ่นเองก็ป่วยด้วยภาวะความดันโลหิตสูงจำนวนมากด้วยเช่นกัน โดยคนญี่ปุ่นบริโภคเกลือเฉลี่ย 4,000 มิลลิกรัมในผู้ชาย และ 3,700 มิลลิกรัมในผู้หญิง

หน้าตาของช้อนลดโซเดียมคันนี้ก็มีรูปทรงคล้ายกับช้อนทั่วไป แต่แฝงไปด้วยนวัตกรรมที่คิดค้นโดย ดร. โฮเมอิ มิยาชิตะ จากมหาวิทยาลัยเมจิ ประเทศญี่ปุ่น จากข้อมูลพบว่าช้อนนี้อาจช่วยลดการบริโภคโซเดียมได้ราว 1.5 เท่าจากเดิม ช่วยให้ผู้คนสามารถดื่มด่ำรสชาติอาหารโดยที่ลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพจากการได้รับโซเดียมมากเกินไป

ช้อนนี้ใช้กลไกทางไฟฟ้าหลอกลิ้นของเราเพื่อเพิ่มรสชาติ แทนที่จะต้องเพิ่มโซเดียมหรือเกลือในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ

โดยคิริน โฮลดิงส์ คอมปานี ลิมิเต็ดได้วางขายช้อนนี้ในล็อตแรกจำนวน 200 คันเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2024 ที่ผ่านมา ราคาอยู่ที่ 19,800 เยน หรือราว 4,600 บาท และวางแผนที่จะพัฒนาตะเกียบ ชาม และภาชนะอื่นๆ เพื่อจุดประสงค์เดียวกันต่อไป เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจรอติดตามนวัตกรรมด้านอาหารและสุขภาพแบบนี้ต่อไป ไม่แน่ว่าในอนาคตเราทุกคนอาจจะได้กินอาหารที่อร่อย โดยที่ไม่ต้องได้รับสารอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากเกินไป

ที่มา: Beartai

Angry Birds ลง Android Automotive, กูเกิลจัด Tier แอพในรถยนต์ แยกตามความพร้อม

กูเกิลประกาศรองรับแอพเพิ่มเติมบน Android Automotive ได้แก่ แอพกลุ่มสตรีมมิ่ง Max, Peacock และเกม Angry Birds ที่สามารถเล่นได้ตอนรถจอด

ส่วน Android Auto ที่เป็นการส่งภาพจากมือถือขึ้นจอ รองรับแอพ Uber Driver สำหรับคนขับรถแล้ว เท่ากับว่าคนขับ Uber จะสามารถรับงานผู้โดยสารและดูการนำทางได้จากจอใหญ่ของรถยนต์ แทนที่จะเป็นจอมือถือแบบเดิม

นอกจากนี้ กูเกิลยังประกาศจัด "ระดับ" ของแอพที่ใช้งานในรถเป็น 3 tiers ตามคุณภาพของแอพ ได้แก่

  • Tier 3: Car ready ระดับพื้นฐาน คือ แอพสามารถทำงานบนจอใหญ่ (เหมือนรันบนแท็บเล็ต) พร้อมใช้งานตอนรถจอด โดยที่นักพัฒนาแอพไม่ต้องทำอะไรเพิ่มจากเดิม
  • Tier 2: Car optimized เพิ่มฟีเจอร์เฉพาะสำหรับการใช้งานในรถบางอย่างเข้ามา รองรับการใช้งานตอนขับหรือตอนจอด แอพส่วนใหญ่ในปัจจุบันอยู่ระดับนี้
  • Tier 1: Car differentiated แอพที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในรถยนต์โดยเฉพาะ ออกแบบมาสำหรับหน้าจอรถยนต์แต่ละจอที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะในรถยนต์ระดับพรีเมียมที่มีหลายจอ

สำหรับแอพกลุ่ม Tier 3 กูเกิลยังเริ่มโปรแกรมชื่อ Car ready mobile apps เพื่อส่งเสริมให้นักพัฒนาปรับแอพให้ได้ตามมาตรฐาน Tier 3 แล้วกูเกิลจะนำไปดันต่อให้ด้วย

แอพหมวดต่างๆ ที่กูเกิลอนุญาตให้ใช้ในรถยนต์ โดยแยกเป็น Android Auto (ประมวลผลจากสมาร์ทโฟน) และ Cars with Google built-in (Android Automotive คือเป็นระบบปฏิบัติการฝังในรถเลย)


ที่มา: Blognone