เรียกว่าเข้าใกล้ไทยเข้ามาอีกนิด กับ Tesla
ที่ขณะนี้เปิดให้สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บของประเทศสิงคโปร์แล้ว
โดยรถรุ่นเดียวที่ให้สั่งซื้อตอนนี้คือ Model 3 มีให้เลือกสองรุ่นย่อยคือ
Standard Range Plus และ Performance
สำหรับ Tesla Model 3 Standard Range Plus มีราคาหน้าเว็บอยู่ที่ 77,990
ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือราว 1.76 ล้านบาท แต่หากรวมภาษีต่างๆ
และค่าจดทะเบียนรถแล้วราคาพุ่งไปอยู่ที่ประมาณ 113,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
หรือราว 2.54 ล้านบาท โดยวิ่งได้ไกล 448 กิโลเมตรตามมาตรฐาน WLTP
ความเร็วสูงสุดที่ 225 กม./ชม. เร่งจาก 0-100 กม./ชม. ได้ภายใน 5.6 วินาที
อย่างไรก็ตาม แม้ราคาจะดูสูงสำหรับคนไทย
แต่นี่คือราคาปกติของรถยนต์ในสิงคโปร์ โดยมีการคาดการณ์ว่าราคารถ Tesla
Model 3 Standard Range Plus พร้อมใบ COE จะถูกกว่า Toyota Camry เสียอีก
เป็นผลมาจากที่รัฐบาลสิงคโปร์มีส่วนลดทางภาษีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้านั่นเอง
Erich Gamma หนึ่งในผู้นำทีมพัฒนา Visual Studio Code เล่าความหลัง 10
ปีว่าความสำเร็จของ VS Code ที่เราเห็นในปัจจุบัน
เกิดจากความล้มเหลวของโครงการก่อนหน้านี้คือ Visual Studio Online ที่เป็น
code editor บนเบราว์เซอร์
VS Code ถูกวางตัวอยู่ตรงกลางระหว่าง editor แบบดั้งเดิม และ IDE
เต็มรูปแบบ ช่วงนั้นมีกระแส Electron เกิดขึ้นพอดี การที่ Monaco
เขียนขึ้นเป็นเว็บอยู่แล้ว นำมารันบน Electron ได้ไม่ยาก
ก้าวถัดมาของ VS Code เกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2015 มีตั้งแต่การโอเพนซอร์สบน GitHub และการรองรับส่วนขยาย (extension)
Gamma เล่าว่าเขามีประสบการณ์จาก Eclipse ที่มีส่วนขยายจำนวนมาก
แต่แนวคิดของ VS Code คือ "ต้องเซฟงานได้เสมอ"
ถ้าส่วนขยายมีผลต่อโปรแกรมหลักจนแครช เสียงานที่ยังไม่ได้เซฟไป
ก็ถือว่าไม่ดี ดังนั้น VS Code
จึงออกแบบส่วนขยายให้รันคนละโพรเซสกับโปรแกรมหลัก และคุยกันผ่าน RPC แทน
อีกปัจจัยที่ทำให้ VS Code ประสบความสำเร็จคือโครงการ TypeScript
ที่ไมโครซอฟท์เริ่มพัฒนาในช่วงไล่เลี่ยกัน (เริ่มปี 2010) ทำให้การพัฒนา VS
Code ง่ายขึ้นมาก ช่วงแรก VS Code ยังสร้างด้วย JavaScript เป็นหลัก
แต่พอถึงปี 2013 โค้ดทั้งหมดกลายเป็น TypeScript เรียบร้อยแล้ว
ปี 2016 เป็นจุดเริ่มต้นของฟีเจอร์สำคัญอีกอย่างคือ Language Server
Protocol (LSP) ที่ช่วยให้ VS Code รองรับภาษาโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก
ผ่านการสร้าง Language Server โดยชุมชน ไมโครซอฟท์ไม่ต้องทำเองทั้งหมด
แค่ดีไซน์ตัวโพรโทคอล LSP ขึ้นมาให้เป็นมาตรฐานเท่านั้น
ทีมของ Gamma ที่เริ่มพัฒนา VS Code อยู่ที่เมืองซูริกในสวิตเซอร์แลนด์
แต่เมื่อกระแส VS Code เริ่มจุดติดในปี 2016
ไมโครซอฟท์ก็เพิ่มอีกทีมที่สำนักงานใหญ่ใน Redmond
โดยผลงานแรกของทีมนี้คือการสร้าง terminal ขึ้นมาภายในตัว VS Code เอง
(xterm.js)
Gamma เล่าว่าการที่ VS Code รันบน Electron อยู่ก่อน
ต่างจากเบราว์เซอร์อยู่บ้าง
จึงต้องปรับโค้ดข้างใต้ใหม่ให้เป็นเวอร์ชันเดียวที่รันได้ทั้งบน Electron
และเบราว์เซอร์
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา Microsoft ได้ปล่อยอัปเดตแอป Your Phone ใน
Microsoft Store บน Windows 10 โดยเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ใช้สามารถรันแอป
Android ได้หลายแอปพร้อมๆ กัน เมื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับ หลังจากที่เปิดใช้งานไปเมื่อปีที่แล้ว พร้อมกับการรองรับการใช้งานแอปเพียงทีละ 1 แอป เท่านั้น
ในการใช้งาน ผู้ใช้ต้องใช้งาน Windows 10 เวอร์ชันอัปเดตเดือนพฤษภาคม 2020
และแอป Your Phone เวอร์ชัน 1.20102.132
พร้อมเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานที่ติดตั้งแอป Link to Windows
เวอร์ชัน 1.20102.133.0 โดยส่วนใหญ่จะเป็นสมาร์ตโฟน Samsung Galaxy
สามารถดูรายชื่ออุปกรณ์รองรับได้ที่นี่
แต่อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์รุ่นอื่นๆ ก็คงต้องฝากความหวังไว้กับ
Microsoft ที่ได้เกริ่นมาก่อนหน้านี้ว่ากำลังพัฒนา “Project Latte”
ที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งแอป Android ลงบน Windows 10 ได้โดยตรง
ทั้งนี้ Chen Jin ผู้จัดการทั่วไปของ Lenovo ประเทศจีนได้ให้เหตุผลว่า
“เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพของผู้ใช้งาน
ระบบจะหยุดชาร์จทันทีเมื่อตรวจสอบได้ว่ามีส่วนของร่างกายมนุษย์มาบังเซนเซอร์”
ต่างจากของ Xiaomi Mi Air Charge
ที่ระบุว่าถึงจะมีสิ่งกีดขวางมากั้นก็ยังสามารถทำงานได้เช่นเดิม
วันนี้ Tesla ได้เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model S และ Model X รุ่นใหม่
ที่หน้าตาภายนอกยังคงคล้ายเดิมอยู่มาก
แต่ภายในถูกยกเครื่องใหม่ทั้งหมดจนไม่เหลือเค้าเดิม
รวมถึงเพิ่มรุ่นย่อยใหม่ Plaid และ Plaid+
ที่โฆษณาว่าเป็นรถที่มีผลิตขายจริงรุ่นแรกที่ทำความเร็ว 0-60
ไมล์ต่อชั่วโมงได้ใน 2 วินาที
เริ่มที่ Model S กันก่อน ขณะนี้ Tesla มี Model S จำหน่ายเพียง 3
รุ่นย่อยเท่านั้น คือ Long Range, Plaid และ Plaid+ เพื่อให้ผลิตง่ายที่สุด
โดย Long Range ราคาเริ่มต้น 79,990 ดอลลาร์สหรัฐหรือราว 2.4 ล้านบาท
เร่งจาก 0-96 กม./ชม. ใน 3.1 วินาที วิ่งได้ระยะทาง 663 กิโลเมตร
ความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม.
สุดท้ายคือรุ่น Plaid+ ที่ถือว่าสเปกสุดโต่งมาก มาพร้อมพละกำลังมากกว่า
1,100 แรงม้า เร่งจาก 0-96 กม./ชม. ได้ "น้อยกว่า" 1.99 วินาที
แต่กลับทำระยะทางต่อการชาร์จหนึ่งครั้งได้มากกว่า 836 กิโลเมตร สูงกว่ารุ่น
Long Range เสียด้วยซ้ำ จึงน่าสังเกตว่า Tesla
ได้ปรับปรุงแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพสูงพิเศษสำหรับรถรุ่นนี้โดยเฉพาะหรือไม่
วางจำหน่ายที่ราคาเริ่มต้น 4.2 ล้านบาท
นอกจากเรื่องประสิทธิภาพ Tesla ยังออกแบบภายในของ Model S ใหม่หมด
โดยรวมดูหรูหราและเป็นมิตรมากขึ้น ลดเส้นสายฉูดฉาดลง มินิมอลคล้ายๆ Model 3
หน้าจอขนาด 17 นิ้วถูกปรับจากแนวตั้งเป็นแนวนอน
ส่วนที่เปลี่ยนมากที่สุดคือพวงมาลัย เพราะกลายเป็นพวงมาลัยแบบไม่เต็มวง
หรือ Yoke Steering คล้ายรถแข่ง F1
อย่างไรก็ตามมีสื่อต่างประเทศบางสำนักตั้งข้อสังเกตว่า Tesla
ไม่น่าจะใช้พวงมาลัยแบบนี้จริงๆ เพราะไม่ค่อยถนัดในการใช้งานจริง
สำหรับผู้โดยสารตอนหลังก็มีจอขนาด 8 นิ้วไว้เพื่อความบันเทิง โดย Tesla
ระบุว่าชิปประมวลผลขนาด 10 เทราฟลอปส์สามารถเล่นเกม The Witcher 3 และ
Cyberpunk 2077 ได้ด้วย (รถ Tesla สามารถต่อจอยไร้สายเล่นเกมได้อยู่แล้ว)
รถที่ถูกปรับปรุงใหม่อีกรุ่นคือ Model X โดยมีรุ่นย่อย 2 รุ่นคือ Long
Range กับ Plaid (ไม่มี Plaid+) ซึ่งรุ่น Plaid ของ Model X
นั้นทำความเร็วจาก 0-96 กม./ชม. ได้ภายใน 2.5 วินาที ความเร็วสูงสุด 262
กม./ชม. และวิ่งได้ระยะทาง 547 กิโลเมตร ราคาเริ่มต้น 119,990 ดอลลาร์สหรัฐ
หรือราว 3.6 ล้านบาท เท่ากับ Model S
ส่วนภายในของ Model X ก็เหมือน Model S แทบทุกจุด เพียงแต่สามารถเลือกที่นั่งแบบ 5, 6 หรือ 7 ที่นั่งก็ได้
Tesla Model S รุ่น Long Range และ Plaid จะเริ่มส่งมอบในเดือนมีนาคม และ
Plaid+ จะมาช่วงปลายปีนี้ ส่วน Model X
ทั้งสองรุ่นย่อยจะเริ่มส่งมอบในเดือนเมษายน
วันนี้ Apple
ได้ประกาศได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทยแล้ว โดยจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ประเภท
Class I พร้อมปล่อยอัปเดต watchOS 7.3 รุ่น Release Candidate แล้ว
แต่ครั้งนี้จะไม่เหมือนครั้งอื่นๆ กลายเป็นที่ฮือฮาสำหรับชาว Apple Watch
ในประเทศไทย ที่จะสามารถใช้ฟีเจอร์ ECG
หรือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่มีมานานตั้งแต่ Apple Watch Series 4 ได้แล้ว
ใน watchOS 7.3 ที่เตรียมปล่อยอัปเดตนี้ ผู้ใช้ชาวไทยจะสามารถใช้ฟีเจอร์
ECG ที่ทุกคนต่างรอคอยบน Apple Watch Series 4 ขึ้นไป (ยกเว้น Apple Watch
SE)
และการแจ้งเตือนหากหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
(AFib) โดยครั้งนี้ประเทศไทยก็อยู่ในลิสต์สำหรับ 2 ฟีเจอร์นี้ด้วย
ฟีเจอร์ต่างๆ เหล่านี้ ต่างให้ข้อมูลสำคัญให้กับแพทย์ได้