ประกาศสำคัญของงานแถลงข่าว LINE คือการเปิด LINE Business Platform
ให้คนอื่นเข้ามาใช้งานได้มากขึ้น (สักที!)
รายละเอียดของการเปิดแพลตฟอร์มแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ เปิดให้ Web Service,
เปิดให้ SME, เปิดให้นักพัฒนา รายละเอียดมีดังนี้ครับ
1. Web Service
ที่ผ่านมา LINE Platform เปิดให้เฉพาะบริการในเครือของ LINE เองเท่านั้น เช่น LINE News, LINE Live, LINE Part Time Jobs แต่ตอนนี้บริษัทพร้อมเปิด Platform ให้กับเว็บเซอร์วิสนอกบริษัทแล้ว
1. Web Service
ที่ผ่านมา LINE Platform เปิดให้เฉพาะบริการในเครือของ LINE เองเท่านั้น เช่น LINE News, LINE Live, LINE Part Time Jobs แต่ตอนนี้บริษัทพร้อมเปิด Platform ให้กับเว็บเซอร์วิสนอกบริษัทแล้ว
เว็บเซอร์วิสที่มาเชื่อมต่อจะเรียกว่า Official Web Apps
สามารถเข้าถึงฟีเจอร์มาตรฐานของ Platform เช่น ระบบล็อกอิน, ระบบจ่ายเงิน
LINE Pay, ระบบสะสมแต้ม, LINE Business Connect API
ผู้ใช้ LINE จะสามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้จากแอพ LINE โดยตรง
ไม่ต้องลำบากสร้างบัญชีล็อกอินใหม่ สามารถกรอกข้อมูลส่วนตัวที่บันทึกไว้ใน
Profile+ ได้อัตโนมัติ การใช้งาน Web Apps ยังสามารถสะสมแต้ม LINE Points ได้ด้วย
เป้าหมายของ LINE ก็ชัดเจนว่าอยากให้คนมาใช้บริการ Web Apps บน LINE
Platform แทนการใช้แอพแบบเนทีฟของระบบปฏิบัติการนั้นๆ
รายการฟีเจอร์ก็ใกล้เคียงกัน มีระบบข้อความแจ้งเตือนแบบพุช (Push)
แต่สะดวกกว่าตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องอัพเดต และไม่ต้องติดตั้งแอพลงในเครื่อง
Web Apps บน LINE Platform ยังถูกค้นพบ (Discovery) ได้ง่ายจากช่องทางต่างๆ เช่น การแชร์ ค้นหา แนะนำ
ลูกค้า LINE ภาคธุรกิจที่มี Official Account อยู่แล้ว สามารถซื้อบริการ
Official Web Apps ในราคาเดือนละ 20,000 เยน (ประมาณ 6,300 บาท) ใช้งาน
API ได้ไม่จำกัด แต่จำกัดจำนวนเพื่อนที่ 100,000 คน
ตัวบริการจะเปิดในช่วงฤดูร้อนกลางปีนี้ ตอนนี้มีพาร์ทเนอร์ในญี่ปุ่นแสดงความสนใจแล้ว 45 บริษัท
หัวข้อแรกเป็นฟีเจอร์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีเงินซื้อ Official Account ส่วนธุรกิจขนาดเล็ก (SME) ที่ใช้ LINE@ ก็ได้ฟีเจอร์ใหม่ด้วยเช่นกัน ภายใต้ชื่อ SME Partnership Program ที่ช่วยให้ธุรกิจใกล้ชิดกับผู้ใช้มากขึ้น
ฟีเจอร์ใหม่มีหลายอย่าง เริ่มจาก Account Page ที่มีระบบปลั๊กอิน เลือกได้ว่าจะแสดงผลข้อมูลอะไรในหน้า Account
Chat API เปิดให้ภาคธุรกิจที่มีระบบส่งข้อความหลังบ้าน
สามารถเชื่อมต่อกับระบบแชทของ LINE@ ได้ ตัวอย่างการใช้งาน เช่น
จองโต๊ะร้านอาหารผ่านการแชทใน LINE หรือ สอบถามข้อมูลสินค้าทาง LINE
ฟีเจอร์เหล่านี้จะเริ่มเปิดบริการในเดือนเมษายน 2016
3. Developers
ฟีเจอร์ส่วนนี้เปิดสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ สิ่งที่น่าสนใจคือ LINE กำลังจะมี Chat Bot ครับ เปิด API ให้เราสามารถเชื่อมระบบ CRM หรือ IoT เข้ามาแชทได้
3. Developers
ฟีเจอร์ส่วนนี้เปิดสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ สิ่งที่น่าสนใจคือ LINE กำลังจะมี Chat Bot ครับ เปิด API ให้เราสามารถเชื่อมระบบ CRM หรือ IoT เข้ามาแชทได้
Chat Bot API และ Chat Bot Store เริ่มทดสอบระบบในเดือนเมษายนนี้ และเปิดใช้งานจริงช่วงกลางปี
ฟีเจอร์สำคัญอีกอย่างคือ เปิดระบบ Beacon ให้ LINE
สามารถรับรู้ข้อมูลจากสถานที่ได้ ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า
สามารถโปรโมทส่วนลดหรือกิจกรรมต่างๆ เมื่อผู้ใช้ LINE เดินเข้ามาในรัศมีของ
Beacon (Bluetooth LE) บริการจะเริ่มทดสอบในเดือนพฤษภาคม
ฟีเจอร์อย่างที่สามคือ Chat AI ระบบบ็อตแบบปัญญาประดิษฐ์ (เหมือนกับ
Facebook M) รูปแบบคือเปิดให้ปลั๊กอินภายนอกเข้ามาเชื่อมต่อได้
แปลว่าในอนาคต LINE จะฉลาดเข้าขั้น "ถามอะไรตอบได้"
สามารถคุยกันได้เหมือนมนุษย์
บริการตัวนี้ต้องรอนานหน่อย เปิดปลายปีโน่นเลย
ในภาพรวมก็คือ หลังจากที่เรียกร้องกันมานาน ในที่สุด LINE
ก็จะทำตัวเองเป็นแพลตฟอร์มกับเขาบ้างแล้ว (เหมือนกับที่ Facebook, Google
ทำอยู่) ภาคธุรกิจจะสามารถสร้างแอพมาเชื่อมต่อ มาแชทคุยกับลูกค้าได้โดยตรง
ผ่าน API ที่ LINE เตรียมไว้ให้เรานั่นเอง
กำหนดการของฟีเจอร์ต่างๆ ที่มาไม่พร้อมกัน
ที่มา: Blognone