แน่นอนว่า หัวเว่ย เองก็ไม่นิ่งเฉยต่อสภาวะที่เกิดขึ้น โดยเริ่มขยับตัวเพื่อแหล่งรายได้อื่นๆ ที่ไม่ใช่การขายอุปกรณ์สมาร์ตโฟนเพียงอย่างเดียว เช่น การให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing), พาหนะอัจฉริยะ (Smart Vehicles), และอุปกรณ์สวมใส่ (Wearable Devices)
ไม่เพียงแค่นี้ เนื่องจากจีนมีอุตสาหกรรมสำหรับการเลี้ยงหมูที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหมูกว่าครึ่งหนึ่งของโลก หัวเว่ยไม่รอช้าที่จะบุกอุตสาหกรรมนี้โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นจุดเด็น หลังจากการค้นคว้าอย่างหนักจนสามารถขึ้นไปเป็นบริษัทที่มียอดขายมากที่สุดในโลก
หัวเว่ย ใช้ระบบการจดจำใบหน้า (Facial Recognition) ช่วยให้ผู้เลี้ยงหมูสามารถแบ่งแยก และจําแนกหน้าตาเพื่อติดตาม การกิน, น้ำหนัก, และการออกกำลังกาย ของหมูแต่ละตัวได้ นอกจากนี้ยังใช้ AI เพื่อไว้สำหรับการป้องกันและตรวจหาโรค
ล่าสุดโฆษกของ หัวเว่ย ยังออกมากล่าวกับ BBC News ว่า การใช้เทคโนโลยี ICT (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) สำหรับการเลี้ยงหมูเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า เราไม่ลืมที่จะผลักดันอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมและเสริมสร้างความแข็งแกร่ง เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ยั่งยืนในยุค 5G
นอกจากนี้ Ren Zhengfei ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารระดับสูงในปัจจุบันของหัวเว่ย ออกมาประกาศเปิดตัว ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมการทำเหมืองในมณฑลชานซีทางตอนเหนือของจีน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
โดยมีเป้าหมายว่าต้องการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับเหมืองถ่านหิน
เพื่อการเปลี่ยนแปลงในการใช้แรงงานที่น้อยลง ความปลอดภัยที่มากขึ้น
และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
ถึงขนาดตั้งเป้าว่าต้องสามารถให้แรงงานเหล่านี้ใส่สูทผูกไทไปทำงานได้
"เราไม่มีวันหายไปไหน และเรายังคงอยู่รอดได้โดยไม่ต้องพึ่งการขายสมาร์ตโฟนเพียงอย่างเดียว"
Ren Zhengfei ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารระดับสูงในปัจจุบันของหัวเว่ย
ที่มา: Beartai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น