บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์ Intezer ออกรายงานว่า Go
กลายเป็นภาษายอดนิยมของอาชญากรไซเบอร์ โดยมัลแวร์ที่เขียนด้วย Go
เติบโตขึ้นถึง 2,000% ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี
มัลแวร์ Go ตัวแรกถูกค้นพบในปี 2012
แต่ก็ใช้เวลาอีกนานกว่าความนิยมจะเพิ่มขึ้น
จนมาพุ่งแรงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลว่า Go เป็นภาษาที่เขียนง่าย
เขียนทีเดียวทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์ม ทำให้ผู้สร้างมัลแวร์เริ่มย้ายภาษาจาก
C/C++ มาเป็น Go แทน
อีกปัจจัยที่มีผลไม่น้อยคือ นักวิจัยความปลอดภัยและแอนตี้ไวรัสในท้องตลาด
ยังไม่คุ้นเคยกับแพทเทิร์นของไบนารี Go มากนัก ทำให้มัลแวร์ Go
ตรวจจับได้ยากกว่า ตัวอย่างมัลแวร์ที่เขียนด้วย Go
มีทั้งกลุ่มที่เขียนโดยกลุ่มอาชญากรที่ได้รับการหนุนจากรัฐ (เช่น รัสเซีย
จีน), กลุ่มอาชญากรอิสระ และ ransomware
ทีม Google Research ปล่อยโครงการ TensorFlow 3D (TF 3D)
โมเดลปัญญาประดิษฐ์สำหรับตรวจจับวัตถุสามมิติโดยเฉพาะ
สำหรับใช้งานจากข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์สามมิติ ไม่ว่าจะเป็นโมดูล LIDAR
หรือกล้องสามมิติก็ตาม
TF 3D มีโมเดลสำหรับแยกส่วนวัตถุจากข้อมูลสามมิติ (segmentation)
และตรวจจับวัตถุ (object detection)
การตรวจจับวัตถุจะได้เอาต์พุตเป็นกล่องสามมิติ
สามารถบอกจุดศูนย์กลางและทิศทางที่วัตถุหันอยู่ได้
ตัวโครงการพัฒนาบน TensorFlow 2 รองรับชุดข้อมูล Waymo Open (สแกนถนน), ScanNet (ในอาคาร), และ Rio สำหรับการฝึก
เรียกว่าเข้าใกล้ไทยเข้ามาอีกนิด กับ Tesla
ที่ขณะนี้เปิดให้สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บของประเทศสิงคโปร์แล้ว
โดยรถรุ่นเดียวที่ให้สั่งซื้อตอนนี้คือ Model 3 มีให้เลือกสองรุ่นย่อยคือ
Standard Range Plus และ Performance
สำหรับ Tesla Model 3 Standard Range Plus มีราคาหน้าเว็บอยู่ที่ 77,990
ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือราว 1.76 ล้านบาท แต่หากรวมภาษีต่างๆ
และค่าจดทะเบียนรถแล้วราคาพุ่งไปอยู่ที่ประมาณ 113,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
หรือราว 2.54 ล้านบาท โดยวิ่งได้ไกล 448 กิโลเมตรตามมาตรฐาน WLTP
ความเร็วสูงสุดที่ 225 กม./ชม. เร่งจาก 0-100 กม./ชม. ได้ภายใน 5.6 วินาที
อย่างไรก็ตาม แม้ราคาจะดูสูงสำหรับคนไทย
แต่นี่คือราคาปกติของรถยนต์ในสิงคโปร์ โดยมีการคาดการณ์ว่าราคารถ Tesla
Model 3 Standard Range Plus พร้อมใบ COE จะถูกกว่า Toyota Camry เสียอีก
เป็นผลมาจากที่รัฐบาลสิงคโปร์มีส่วนลดทางภาษีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้านั่นเอง
Erich Gamma หนึ่งในผู้นำทีมพัฒนา Visual Studio Code เล่าความหลัง 10
ปีว่าความสำเร็จของ VS Code ที่เราเห็นในปัจจุบัน
เกิดจากความล้มเหลวของโครงการก่อนหน้านี้คือ Visual Studio Online ที่เป็น
code editor บนเบราว์เซอร์
VS Code ถูกวางตัวอยู่ตรงกลางระหว่าง editor แบบดั้งเดิม และ IDE
เต็มรูปแบบ ช่วงนั้นมีกระแส Electron เกิดขึ้นพอดี การที่ Monaco
เขียนขึ้นเป็นเว็บอยู่แล้ว นำมารันบน Electron ได้ไม่ยาก
ก้าวถัดมาของ VS Code เกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2015 มีตั้งแต่การโอเพนซอร์สบน GitHub และการรองรับส่วนขยาย (extension)
Gamma เล่าว่าเขามีประสบการณ์จาก Eclipse ที่มีส่วนขยายจำนวนมาก
แต่แนวคิดของ VS Code คือ "ต้องเซฟงานได้เสมอ"
ถ้าส่วนขยายมีผลต่อโปรแกรมหลักจนแครช เสียงานที่ยังไม่ได้เซฟไป
ก็ถือว่าไม่ดี ดังนั้น VS Code
จึงออกแบบส่วนขยายให้รันคนละโพรเซสกับโปรแกรมหลัก และคุยกันผ่าน RPC แทน
อีกปัจจัยที่ทำให้ VS Code ประสบความสำเร็จคือโครงการ TypeScript
ที่ไมโครซอฟท์เริ่มพัฒนาในช่วงไล่เลี่ยกัน (เริ่มปี 2010) ทำให้การพัฒนา VS
Code ง่ายขึ้นมาก ช่วงแรก VS Code ยังสร้างด้วย JavaScript เป็นหลัก
แต่พอถึงปี 2013 โค้ดทั้งหมดกลายเป็น TypeScript เรียบร้อยแล้ว
ปี 2016 เป็นจุดเริ่มต้นของฟีเจอร์สำคัญอีกอย่างคือ Language Server
Protocol (LSP) ที่ช่วยให้ VS Code รองรับภาษาโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก
ผ่านการสร้าง Language Server โดยชุมชน ไมโครซอฟท์ไม่ต้องทำเองทั้งหมด
แค่ดีไซน์ตัวโพรโทคอล LSP ขึ้นมาให้เป็นมาตรฐานเท่านั้น
ทีมของ Gamma ที่เริ่มพัฒนา VS Code อยู่ที่เมืองซูริกในสวิตเซอร์แลนด์
แต่เมื่อกระแส VS Code เริ่มจุดติดในปี 2016
ไมโครซอฟท์ก็เพิ่มอีกทีมที่สำนักงานใหญ่ใน Redmond
โดยผลงานแรกของทีมนี้คือการสร้าง terminal ขึ้นมาภายในตัว VS Code เอง
(xterm.js)
Gamma เล่าว่าการที่ VS Code รันบน Electron อยู่ก่อน
ต่างจากเบราว์เซอร์อยู่บ้าง
จึงต้องปรับโค้ดข้างใต้ใหม่ให้เป็นเวอร์ชันเดียวที่รันได้ทั้งบน Electron
และเบราว์เซอร์
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา Microsoft ได้ปล่อยอัปเดตแอป Your Phone ใน
Microsoft Store บน Windows 10 โดยเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ใช้สามารถรันแอป
Android ได้หลายแอปพร้อมๆ กัน เมื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับ หลังจากที่เปิดใช้งานไปเมื่อปีที่แล้ว พร้อมกับการรองรับการใช้งานแอปเพียงทีละ 1 แอป เท่านั้น
ในการใช้งาน ผู้ใช้ต้องใช้งาน Windows 10 เวอร์ชันอัปเดตเดือนพฤษภาคม 2020
และแอป Your Phone เวอร์ชัน 1.20102.132
พร้อมเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานที่ติดตั้งแอป Link to Windows
เวอร์ชัน 1.20102.133.0 โดยส่วนใหญ่จะเป็นสมาร์ตโฟน Samsung Galaxy
สามารถดูรายชื่ออุปกรณ์รองรับได้ที่นี่
แต่อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์รุ่นอื่นๆ ก็คงต้องฝากความหวังไว้กับ
Microsoft ที่ได้เกริ่นมาก่อนหน้านี้ว่ากำลังพัฒนา “Project Latte”
ที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งแอป Android ลงบน Windows 10 ได้โดยตรง
ทั้งนี้ Chen Jin ผู้จัดการทั่วไปของ Lenovo ประเทศจีนได้ให้เหตุผลว่า
“เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพของผู้ใช้งาน
ระบบจะหยุดชาร์จทันทีเมื่อตรวจสอบได้ว่ามีส่วนของร่างกายมนุษย์มาบังเซนเซอร์”
ต่างจากของ Xiaomi Mi Air Charge
ที่ระบุว่าถึงจะมีสิ่งกีดขวางมากั้นก็ยังสามารถทำงานได้เช่นเดิม