Wi-Fi 6 หรือที่รู้จักกันในนาม 802.11ax ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นมาตรฐาน Wi-Fi
ใหม่ที่จะเริ่มใช้ในปี 2019 ถัดจาก Wi-Fi 5 หรือ 802.11ac
ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน บทความนี้จะมาสรุปให้ได้อ่านกันครับว่า ในปี 2019
ที่จะถึงนี้ Wi-Fi 6 จะหน้าตาเป็นอย่างไร และเหล่า Vendor ผู้ให้บริการ
Wi-Fi จะมีความเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง
1. รองรับเทคโนโลยี MU-MIMO
Wi-Fi 6
ถูกออกแบบมาสำหรับสภาวะแวดล้อมที่มีการใช้คลื่นสัญญาณวิทยุอย่างหนาแน่น
และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน โดยรองรับเทคโนโลยี Multi-user,
Multiple-input, Multiple-output (MU-MIMO) ซึ่งช่วยให้ AP
สามารถรับส่งข้อมูลให้กับผู้ใช้ได้สูงสุดถึง 8
คนพร้อมกันด้วยความเร็วที่เท่าๆ กัน
2. มาพร้อมกับเทคโนโลยี OFDMA
Orthogonal Frequency Division Multiple Access (OFDMA)
เป็นเทคโนโลยีการซอยช่องสัญญาณออกเป็นช่องย่อยๆ
จำนวนมากเพื่อนำส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ที่แตกต่างกันพร้อมๆ กัน ดังนั้น AP
จะสามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ได้มากขึ้นและรวดเร็วขึ้นในคราวเดียว
เหมาะสำหรับยุค Internet of Things ที่ทุกอุปกรณ์มีการเชื่อมต่อถึงกัน
3. AP เตรียมให้บริการในปี 2019 แต่ Endpoint อาจต้องรอถึงปี 2020
AP ระดับใช้งานในองค์กรที่รองรับมาตรฐาน Wi-Fi 6 เริ่มมีให้บริการแล้ว
เช่น AP630, AP650 และ AP650X จาก Aerohive โดยมีราคาเริ่มต้นที่ประมาณ
$1,200 (40,000 บาท) ในขณะที่ Cisco และ HPE Aruba คาดว่าจะเริ่มให้บริการ
AP มาตรฐาน Wi-Fi 6 ในปี 2019 นี้ ส่วน AP ระดับใช้งานทั่วไป ทั้ง D-Link,
Asus และ TP-Link ต่างเริ่มให้บริการแล้วเช่นกัน อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์
Endpoint ไม่ว่าจะเป็น PC, โน๊ตบุ๊ก, แท็บเล็ต หรือสมาร์ตโฟน
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่าจะเริ่มรองรับ Wi-Fi 6 ในปี 2020
4. Wi-Fi 6 ยังไม่ได้เป็นมาตรฐานอย่างเป็นทางการ แต่ไม่เกินปี 2019 นี้
มาตรฐาน Wi-Fi 6 ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี ก่อนหน้านี้ร่างมาตรฐานทั้ง 2
ฉบับต่างถูกคณะกรรมการของ IEEE ตีตกไป แต่คาดว่ามาตรฐานจะเรียบร้อยภายในปี
2019 นี้ หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร่างมาตรฐานไม่ได้รับการอนุมัติมาจากการที่
Vendor
หลายรายต่างพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองออกมาก่อนที่มาตรฐานจะเสร็จสมบูรณ์
ซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติของโลก Wi-Fi อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มที่หลายๆ Vendor
เริ่มให้บริการ AP มาตรฐาน Wi-Fi 6 กันแล้ว
อาจกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่เริ่งให้ IEEE อนุมัติมาตรฐานก็เป็นได้
ที่มา: TechTalk
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น