วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รู้จัก Red Hat OpenShift: โซลูชัน Docker และ Kubernetes ตอบโจทย์ DevOps และ Multi-Cloud สำหรับองค์กร

แนวโน้มของการใช้งานเทคโนโลยี Container ในการพัฒนา Application ต่างๆ ขององค์กรนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยข้อดีหลากหลายประการทั้งในเชิงเทคนิคและการลงทุน Red Hat เองก็ถือเป็นหนึ่งในผู้ร่วมบุกเบิกตลาด Container ในองค์กรรายแรกๆ ด้วยโซลูชัน Red Hat OpenShift ที่ได้นำ Docker และ Kubernetes มาผสานและปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานภายในองค์กร ก้าวสู่การทำ Platform-as-a-Service (PaaS) ได้ด้วยเทคโนโลยี Enterprise Container เพื่อตอบโจทย์การทำ DevOps และ Multi-Cloud ภายในองค์กร

 

ใช้ Container ในการพัฒนา Application สามารถช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายขององค์กรได้อย่างไร?

 


สำหรับหลายๆ องค์กรที่ยังไม่ได้เริ่มมีการใช้งาน Container ในการพัฒนาระบบ Application ต่างๆ ขององค์กรนั้นก็อาจยังไม่เห็นภาพประโยชน์ของการใช้งาน Container นัก ซึ่งหากสรุปโดยย่นย่อแล้ว Container จะมีประโยชน์ต่อองค์กรดังนี้
  • ทีมพัฒนาและทดสอบ Application สามารถควบคุม Environment ของระบบที่ใช้ Develop, ระบบ Production และระบบ Test ให้เหมือนกันได้ ทำให้ลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเหล่านี้ได้ และช่วยให้การทำ DevOps มีขั้นตอนที่ชัดเจนมากขึ้น
  • รองรับการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบ Microservices ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาระบบมีความเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น, สามารถอัปเดตเฉพาะส่วนโดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ได้
  • การ Deploy ระบบสามารถทำได้อย่างง่ายดายและไม่ขึ้นกับ Environment ที่ใช้มากนัก รวมถึงสามารถเพิ่มขยายระบบเพื่อรองรับการใช้งานจำนวนมากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
  • สามารถลดปริมาณทรัพยากรที่ต้องใช้ในระบบโดยรวมได้ดีกว่าการใช้ Virtual Machine (VM) เป็นหลัก
  • สามารถออกแบบระบบให้ทำงานทดแทนกันได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพิ่มความทนทานให้กับ Application โดยรวม
จะเห็นได้ว่าการนำ Container มาใช้งานนี้จะช่วยลดภาระด้านการดูแลรักษาระบบและลด Downtime ที่จะเกิดขึ้นกับ Application ได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังทำให้การทำ DevOps เป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น และยังช่วยให้การพัฒนา Software ต่างๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้การนำ Container มาใช้ภายในองค์กรจึงได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับการพัฒนา Cloud-native Application หรือระบบงานขนาดใหญ่

IDC ได้เคยทำการสำรวจเหล่าองค์กรขนาดใหญ่ 9 แห่ง ที่มีพนักงานเฉลี่ย 44,000 คน ซึ่งมีการใช้งานระบบ Red Hat OpenShift ซึ่งเป็นโซลูชันด้าน Container ของ Red Hat และพบตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้
  • Return on Investment (ROI) ของการใช้งาน 5 ปีนั้นจะอยู่ที่ 531%
  • Life Cycle ในการพัฒนา Application นั้นเร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 66%
  • พนักงานฝ่าย IT ใช้เวลาในการพัฒนา Application น้อยลงกว่าเดิม 33%
  • ค่าใช้จ่ายสำหรับระบบ IT Infrastructure ในการพัฒนา Application นั้นน้อยลง 38%
และทั้งหมดนี้ก็นำมาสู่การที่องค์กรสามารถทำการพัฒนา Application ออกมาได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยลง เป็นการเร่งให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ภายในองค์กรได้อย่างต่อเนื่องยิ่งขึ้นนั่นเอง โดยผู้ที่สนใจรายงานฉบับเต็มสามารถศึกษาได้ที่ https://www.redhat.com/en/engage/application-development-platform-20170713 

 

Red Hat OpenShift: Docker และ Kubernetes ที่ถูกเสริมความสามารถสำหรับตอบโจทย์องค์กรโดยเฉพาะ

 

เพื่อตอบรับต่อกระแสความต้องการในการนำระบบ Container ที่มีทั้งประสิทธิภาพ, ความง่ายในการบริหารจัดการ, ความมั่นคงปลอดภัย และบริการดูแลรักษาจากมืออาชีพโดยตรง ทาง Red Hat จึงได้ทำการพัฒนาโซลูชัน Red Hat OpenShift ขึ้นมาตอบโจทย์เหล่านี้สำหรับตลาดระดับองค์กร ให้สามารถใช้งานโซลูชันระบบ Open Source Software ขนาดใหญ่ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบ Application สำคัญของธุรกิจได้โดยตรง


Red Hat OpenShift นี้คือการรวมเอาเทคโนโลยีจาก Docker และ Kubernetes เข้ามาไว้ด้วยกัน เพื่อให้การใช้งาน Container ในการพัฒนา Application ต่างๆ เป็นไปได้อย่างครบวงจร อีกทั้ง Docker และ Kubernetes นี้ก็ยังเป็นโครงการ Open Source Software ที่เหล่า Developer ใช้งานกันเป็นมาตรฐานทั่วโลกไปแล้ว ดังนั้นการที่เหล่า Software Developer ภายในองค์กรจะหันมาเรียนรู้และปรับใช้งานภายในองค์กรนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก โดยทาง Red Hat เองก็ได้พัฒนาและทดสอบระบบ Red Hat OpenShift จนสามารถให้บริการสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี
  • การจัดการ Image และ Quickstart Template สำหรับ Application ที่พัฒนาด้วย Java, Node.js, .NET, Ruby, Python, PHP และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้สามารถรองรับภาษาที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมและ Framework ต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม
  • การสร้าง Database Instance สำหรับใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลของ Application ต่างๆ ซึ่งรวมถึง MariaDB, MySQL, PostgreSQL, MongoDB, Redis, SQLite ทำให้องค์กรสามารถเลือกใช้ฐานข้อมูลที่ตนเองต้องการในแต่ละโครงการได้
  • มี Red Hat JBoss Middleware Service Image และ Template ให้ใช้สำหรับรองรับระบบ Application ขนาดใหญ่ขององค์กรได้ ทำให้องค์กรที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีของ Red Hat มาแต่เดิมสามารถก้าวมาสู่การทำ Microservices บนระบบ Enterprise Container ได้อย่างเต็มตัว
  • สามารถเชื่อมต่อไปยัง Container Catalog ของ DockerHub และอื่นๆ ได้ รวมถึงยังมี Red Hat Container Catalog ซึ่งเป็นการรวบรวมเอา Container Image สำหรับการใช้งานภายในองค์กรโดยเฉพาะเอาไว้ให้ใช้งานได้ด้วย
  • มีเครื่องมือ Source-to-Image (S2I) สำหรับใช้สร้าง Docker Container Image ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ช่วยลดภาระของทีมพัฒนาลงไปได้อีกระดับหนึ่ง
  • มีเครื่องมือ Red Hat Container Development Kit, Minishift และ OpenShift Command Line Tool เพื่อให้สามารถสร้าง OpenShift Instance ภายในเครื่อง Local Machine และทำการพัฒนาหรือทดสอบระบบพร้อมทั้ง Deploy ขึ้นไปยังระบบ Production ได้อย่างง่ายดาย
  • สามารถทำการ Deploy ระบบต่างๆ ได้ในการคลิกเพียงครั้งเดียวหรือการใช้ Git Push ทำให้การทำ DevOps เป็นไปได้อย่างราบรื่น
  • รองรับการทำ Port Forwarding ได้ในตัว ทำให้สามารถทำการเชื่อมต่อไปยังแต่ละ Service ภายในแต่ละ Pod ได้อย่างปลอดภัย
  • สามารถทำงานร่วมกับ Jenkins เพื่อทำ Automated Test และ Build ได้
  • ใช้แนวคิดการแบ่งระบบออกเป็น Pods ของ Kubernetes ทำให้สามารถทำ Pods Autoscaling และ High Availability ได้
  • สามารถทำ Container Orchestration ด้วย Kubernetes ได้
  • สามารถทำการ Deploy ระบบไปยัง Physical, Virtual และ Cloud ได้
  • สามารถบริหารจัดการได้ผ่าน Web Console และ CLI
  • มีเครื่องมือ Remote Execute Command และ SSH ไปยัง Container ต่างๆ ในระบบได้
  • มีเครื่องมือในการ Integrate เข้ากับ IDE อย่าง Eclipse, JBoss Developer Studio และ Visual Studio เพื่อให้ Developer ทำงานได้ง่ายขึ้น
  • การพัฒนาระบบให้สามารถนำทรัพยากรต่างๆ อย่าง CPU, GPU, FPGA และอื่นๆ มาใช้งานบน Container ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ Red Hat เองก็ยังได้พัฒนาโซลูชันเสริมต่อยอดขึ้นไปจาก Red Hat OpenShift ด้วยกันอีกถึง 3 โซลูชัน เพื่อตอบโจทย์การสร้างระบบ IT Infrastructure สำหรับรองรับความต้องการที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย ได้แก่
  • Red Hat OpenShift Application Runtimes รวบรวม Runtime และ Framework ที่หลากหลายมาให้พร้อมใช้ในการพัฒนา Application เช่น Red Hat JBoss Enterprise Application Platform (EAP), Eclipse Vert.x, WildFly Swarm, Node.js, Spring Boot, Netflix Ribbon และ Netflix Hystrix เป็นต้น
  • Red Hat Mobile Application Platform รวบรวมเครื่องมือ, SDK และ Framework สำหรับการพัฒนา Mobile Application และบริการต่างๆ ที่จำเป็นในฝั่ง Backend เอาไว้เพื่อรองรับการพัฒนา Mobile Application สำหรับองค์กรโดยเฉพาะ
  • Red Hat Cloud Suite ระบบ Cloud IT Infrastructure สำหรับรองรับ Application ขนาดใหญ่ที่เพิ่มขยายได้อย่างง่ายดาย ด้วยการนำเทคโนโลยี Red Hat Virtualization, Red Hat OpenStack Platform, Red Hat Satellite และ Red Hat CloudForms เข้ามาใช้ร่วมกับ Red Hat OpenShift ทำให้การบริหารจัดการ, การเพิ่มขยายระบบ และการดูแลรักษาระบบขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นไปได้อย่างครบวงจร

 

ใช้เทคโนโลยี Open Source มาตรฐาน ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ได้อีกมากมาย

 

ด้วยความที่ Red Hat OpenShift นั้นอาศัยการพัฒนาต่อยอดขึ้นมาจาก Docker และ Kubernetes ซึ่งต่างก็เป็นโครงการ Open Source Software ชั้นนำที่ได้รับการยอมรับและการใช้งานอย่างกว้างขวาง ทำให้ Red Hat OpenShift นั้นสามารถทำงานร่วมกับโครงการ Open Source Software ชั้นนำอื่นๆ จำนวนมากได้ เช่น
  • CoreOS ระบบปฏิบัติการสำหรับ Container โดยเฉพาะที่ Red Hat ได้เข้าซื้อกิจการมา
  • Cri-O ระบบ Container Runtime ขนาดเล็กสำหรับ Kubernetes
  • Prometheus ระบบ Monitoring ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในระบบ Production ขนาดใหญ่และ DevOps
และหลังจากนี้ทาง Red Hat เองก็ยังมีแผนที่จะนำโครงการ Open Source ชั้นนำอื่นๆ เข้ามาใช้งานใน Red Hat OpenShift ด้วย และโครงการอย่าง Ist.io ซึ่งเป็นระบบสำหรับ Service Mesh ที่มาแรงมากในปีนี้เองก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการนำเข้ามาเสริมให้กับโซลูชันนี้ด้วยเช่นกัน

 

เลือกใช้งานได้ 3 แบบ ตอบโจทย์ IT Infrastructure ได้ยืดหยุ่นตามต้องการ

 


Red Hat OpenShift นี้สามารถเลือกใช้งานได้ด้วยกันถึง 3 รูปแบบ ดังนี้
  • Red Hat OpenShift Online เช่าใช้บริการ Hosted Service สำหรับ OpenShift บน Cloud ของ Red Hat โดยตรง
  • Red Hat OpenShift Dedicate เช่าใช้ Red Hat OpenShift ที่ทำงานอยู่บน AWS และ Google Cloud โดยมีทีมงานของ Red Hat คอยสนับสนุนและดูแลการใช้งาน
  • Red Hat OpenShift Container Platform ติดตั้งและใช้งาน Red Hat OpenShift ภายใน Data Center หรือ Public Cloud ที่ต้องการด้วยตนเอง
ดังนั้นแล้วไม่ว่ากลยุทธ์ทางด้านการพัฒนา Application ใหม่ๆ ขององค์กรจะอยู่ในรูปแบบใด Red Hat OpenShift ก็มีทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับตอบโจทย์ความต้องการได้อยู่เสมอ ไม่ต้องยึดติดกับผู้ผลิต Hardware รายใดหรือผู้ให้บริการ Cloud รายใดเป็นพิเศษ ทำให้องค์กรสามารถลงทุนอย่างคุ้มค่าได้ในระยะยาว ไม่เกิดปัญหา Vendor Lock-in

 

เปิดตัว Red Hat OpenShift Container Storage

 

ล่าสุด Red Hat เองก็ได้ทำการเปิดตัว Red Hat OpenShift Container Storage 3.10 เพื่อทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลสำหรับระบบ Container โดยเฉพาะด้วยประสิทธิภาพสูงและปลอดภัย ด้วยแนวคิดการทำ Software-Defined Storage สำหรับ Cloud-native Application โดยเฉพาะ รองรับได้ทั้ง Stateful และ Stateless Container ได้อย่างครอบคลุม 

 

ทดลองใช้งาน Red Hat OpenShift ได้ฟรี

 

ผู้ที่สนใจอยากทดสอบเทคโนโลยี Red Hat OpenShift หรือต้องการเรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้าน Container สามารถทดสอบได้ฟรีทันที 2 ช่องทาง ได้แก่
  • สำหรับ Developer สามารถทดการทดลองใช้งาน Red Hat OpenShift บน Cloud ได้ฟรีๆ ทันทีโดยการลงทะเบียนที่ https://www.openshift.com/products/online/ และจะสามารถทำการใช้งานได้ทันที 4 Service โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
  • สำหรับ System Administrator ที่ต้องการทดลองทำแล็บสำหรับ Red Hat OpenShift สามารถลงทะเบียนได้ฟรีๆ ที่ https://www.redhat.com/en/engage/openshift-storage-testdrive-20170718 เพื่อทดลองใช้งานระบบแล็บออนไลน์แบบไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงใช้ SSH Client และ Web Browser เพื่อทำแล็บเท่านั้น
ส่วนผู้ที่ต้องการทดสอบ Red Hat OpenShift ในเชิงลึกยิ่งขึ้นโดยมีทีมงานของ Red Hat คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำในเชิงเทคนิค สามารถติดต่อทีมงาน Red Hat ในประเทศไทยได้ทันที

 

ติดต่อทีมงาน Red Hat Thailand

 


สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยีต่างๆ ของ Red Hat สามารถติดต่อทีมงาน Red Hat Thailand เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือทดสอบเทคโนโลยีต่างๆ ได้ทันทีที่โทร 02-624-0601 หรืออีเมล์ asaeung@redhat.com

ที่มา: TechTalk

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น